ยินดีต้อนรับเข้าสู่..........เว็บไซต์การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์  
 
 

 
 
 
องค์ประกอบของการท่องเที่ยว

         องค์ประกอบของการท่องเที่ยว ได้แก่ นักท่องเที่ยว ทรัพยากรการท่องเที่ยว ธุรกิจในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การปฏิบัติตัวของนักท่องเที่ยว มารยาทในการปฏิบัติต่อสถานที่ท่องเที่ยว ดังนั้น ผู้ที่จะทำธุรกิจด้านการท่องเที่ยวต้องศึกษาองค์ประกอบที่กล่าวมาแล้ว ดังนี้
 นักท่องเที่ยว จัดได้ว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของการท่องเที่ยว การศึกษาเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมการเดินทางของนักท่องเที่ยว ทัศนคติและลักษณะพื้นฐานของนักท่องเที่ยวจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง ในการนำข้อมูลดังกล่าวมาใช้วางแผนทางการตลาด โดยมีปัจจัยหลักเกี่ยวกับนักท่องเที่ยวที่ควรศึกษา ได้แก่
      1. ลักษณะพื้นฐาน หรือลักษณะทางประชากรศาสตร์ของนักท่องเที่ยว จำแนกออกตามลักษณะของเพศ อายุ อาชีพ ระดับการศึกษาการศึกษา ระดับรายได้ สถานภาพสมรส และถิ่นอาศัย ซึ่งแต่ละปัจจัยจะส่งผลถึงพฤติกรรมการเดินทางและการเลือกแหล่งท่องเที่ยวที่แตกต่างกัน ต่อไปนี้
          1.1 อายุ บุคคลที่มีช่วงอายุแตกต่างกันจะมีความสามารถในการเดินทางได้แตกต่างกัน คือ กลุ่มวัยเด็กและกลุ่มวัยรุ่น ในการตลาดทั้งสองกลุ่มถือว่าเป็นตลาดที่น่าส่งเสริมอย่างยิ่ง เพราะหากเกิดความประทับใจในอนาคตนักท่องเที่ยวสองกลุ่มนี้อาจกลับมาเที่ยว และกลายเป็นนักท่องเที่ยวที่มีศักยภาพ ซึ่งจะเป็นรายได้มากกว่าเดิม
              - กลุ่มวัยเด็ก ช่วงอายุต่ำกว่า 15 ปี เป็นกลุ่มที่ไม่สามารถเดินทางได้ตามลำพัง หากเดินทางมาท่องเที่ยวต้องมาพร้อมครอบครัว หรือผู้ดูแล
              - กลุ่มวัยรุ่น ช่วงอายุ 15 - 24 ปี เป็นวัยที่กำลังศึกษาอยู่หรือเพิ่งจบการศึกษา จึงยังไม่มีทุนทรัพย์ใช้ในการเดินทางด้วยตนเอง หรือมาพักอาศัยกับครอบครัวอุปถัมภ์ ตามโครงการแลกเปลี่ยนทางการศึกษาต่าง ๆ
              - กลุ่มวัยรุ่นตอนต้น ช่วงอายุ 25 - 34 ปี เป็นกลุ่มที่มีศักยภาพใช้จ่ายเงินได้สูง เพราะมีรายได้เป็นของตนเอง ลักษณะกิจกรรมทำได้หลากหลายเพราะสุขภาพเอื้ออำนวย ส่วนใหญ่กลุ่มวัยนี้จะมีการเดินทางท่องเที่ยวมากกว่าวัยอื่น ๆ
              - กลุ่มวัยทำงานตอนกลางและตอนปลาย ช่วงอายุ 35 - 44 ปี และ 45 - 54 ปี เป็นกลุ่มที่มีการเดินทางค่อนข้างสูง ประกอบกับมีฐานะทางการเงินและมีครอบครัวที่ค่อนข้างมั่นคงแล้ว
              - กลุ่มวัยเกษียณ ช่วงอายุ 55 ปีขึ้นไป เป็นกลุ่มที่มีความถี่ในการเดินทางลดลง เนื่องจากสุขภาพแต่จะมีวันพักผ่อนนาน เพราะส่วนใหญ่ไม่มีภาระของงานที่ต้องรับผิดชอบแล้ว
          1.2 เพศ โดยทั่วไปแล้วนักท่องเที่ยวชายเป็นกลุ่มที่มีการเดินทางมากกว่านักท่องเที่ยวหญิง เนื่องจากสามารถเดินทางได้ทั้งตามลำพังหรือเดินทางเป็นกลุ่ม มักจะกระจายตัว อีกทั้งทำกิจกรรมท่องเที่ยวที่หลากหลายในขณะที่นักท่องเที่ยวหญิงมีความคล่องตัวน้อยกว่า จะพิถีพิถันและรอบคอบในการเลือกแหล่งท่องเที่ยวเป็นพิเศษ มักเลือกแหล่งท่องเที่ยวที่มีความปลอดภัย
และสามารถเดินทางได้สะดวก ดังนั้น แหล่งท่องเที่ยวแห่งใดที่มีจำนวนท่องเที่ยวหญิงมาก หรือมีอัตราการเติบโตสูง ก็ย่อมได้รับภาพลักษณ์ในทางอ้อมว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ปลอดภัย



นักท่องเที่ยวระดับกลุ่มทำงานตอนกลางและตอนปลาย

      นักท่องเที่ยวกลุ่มนี้มีศักยภาพในการเดินทางมาท่องเที่ยวได้สูง เนื่องจากมีรายได้ที่สามารถใช้จ่ายได้อย่างเต็มที่ และโดยทั่วไปจะเห็นความสำคัญของการพักผ่อนด้วยการเดินทางท่องเที่ยวไปยังสถานที่ต่าง ๆ
          1.3 สถานภาพสมรส กลุ่มคนโสดมีโอกาสในการเดินทางได้บ่อยครั้ง และพักได้นานกว่ากลุ่มที่มีการสมรสแล้ว เนื่องจากสามารถตัดสินใจได้เอง และไม่มีภาระทางครอบครัวที่จะต้องดูแลมาก ขณะที่กลุ่มสมรสแล้วก้อาจจะเดินทางน้อยลง แต่เมื่อใดที่มีการเดินทางก็มักจะไปเป็นครอบครัว (กรณีที่มีบุตร) หรือไปเป็นคู่ (กรณีที่ยังไม่มีบุตร) ซึ่งทำให้เกิดกลุ่มตลาดท่องเที่ยวแบบครอบครัว และกลุ่มคู่ฮันนีมูนขึ้นมาโดยเฉพาะ
          1.4 ระดับรายได้ เป็นตัวบ่งชี้สำคัญถึงความสามารถในการเดินทางของบุคคล หมายถึง บุคคลที่มีรายได้สูงย่อมมีโอกาสในการเดินทางท่องเที่ยวได้ไกล และบ่อยครั้งกว่าบุคคลที่มีรายได้ต่ำกว่า และในทางการตลาดหรือธุรกิจการท่องเที่ยว แบ่งกลุ่มรายได้ต่ำหรือกลุ่มระดับล่าง ช่วงรายได้ที่จะกำหนดระดับฐานะนั้นจะขึ้นอยู่กับสภาพเศรษฐกิจ และระดับค่าครองชีพของแต่ละประเทศ
          1.5 ระดับการศึกษา เป็นตัวแปรที่สอดคล้องกับอาชีพและรายได้ ส่วนใหญ่บุคคลที่มีระดับการศึกษาสูง ก็มักจะมีอาชีพและรายได้ดี ส่งผลให้เดินทางบ่อยกว่ากลุ่มที่มีการศึกษาต่ำกว่า นอกจากนี้ระดับการศึกษายังเป็นตัวชี้ให้เห็นถึงคุณภาพของนักท่องเที่ยวด้วย สมมติฐานว่า ผู้ที่มีการศึกษาสูงจะเป็นผู้ที่มีความคิดและวิถีชีวิตที่ดี แสดงออกถึงทัศนคติและพฤติกรมการท่องเที่ยวที่ดี เช่น มีแนวคิดเกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มีความเข้าใจในสังคม และวัฒนธรรมที่ต่างออกไป เป็นต้น

          1.6 อาชีพ กลุ่มที่มีภารกิจที่การงานที่แตกต่างกันมีโอกาสในการเดินทางแตกต่างกัน โดยกลุ่มคนที่ทำงานในอาชีพระดับสูง จะมีโอกาสเดินทางได้มากเพราะมีทุนทรัพย์มากกว่า นอกจากนี้อาจเป็นภาระหน้าที่ทางการงานที่กำหนดให้ต้องเดินทางไปติดต่องานในสถานที่ต่าง ๆ โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในกลุ่มระดับผู้บริหาร กลุ่มนักวิชาชีพเฉพาะ ตัวแทนขาย เป็นต้น
          1.7 ถิ่นพำนัก บุคคลที่อยู่ในท้องที่ที่มีสภาวะแวดล้อมและภูมิอากาศที่แตกต่างกัน ก็ย่อมมีความต้องการและเลือกแหล่งท่องเที่ยวแตกต่างกัน เช่น กลุ่มที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีอากาศหนาวเย็นจัด นิยมเดินทางไปยังแหล่งท่องเที่ยวที่มีอากาศอบอุ่นกว่า ขณะที่กลุ่มที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีอากาศร้อน ก็มักจะแสวงหาแหล่งท่องเที่ยวที่มีอากาศหนาวเย็นหรือมีหิมะ เป็นต้น เช่นเดียวกับกลุ่มที่มีวิถีชีวิตและวัฒนธรรมที่แตกต่างก็จะเลือกแหล่งท่องเที่ยวที่มีสิ่งที่แตกต่างออกไปจากที่ตัวเองอยู่ เช่น ชาวตะวันตกนิยมเดินทางออกมายังดินแดนตะวันออก เพื่อสัมผัสกับวัฒนธรรมที่แตกต่าง เป็นต้น
      2. ฤดูกาลท่องเที่ยว ในแต่ละเดือนมีจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าไปยังแหล่งท่องเที่ยว มากน้อยแตกต่างกันซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศในแหล่งท่องเที่ยว และถิ่นที่อยู่ของนักท่องเที่ยว รวมทั้งระยะเวลาวันหยุดพักของนักท่องเที่ยวด้วย หากแหล่งท่องเที่ยวมีสภาพภูมิอากาศที่เหมาะสมกับการเดินทาง และตรงกับช่วงวันหยุดของนักท่องเที่ยว มีผลทำให้มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าไปยังแหล่งท่องเที่ยวนั้นเป็นจำนวนมาก จากสถิติช่วงเดือนที่มีนักท่องเที่ยวเข้ามามาก เรียกว่า ช่วงฤดูท่องเที่ยว ส่วนช่วงเดือนที่มีนักท่องเที่ยวน้อยเรียกว่า นอกฤดูท่องเที่ยว ช่วงนี้เป็นช่วงที่ต้องมีการประชาสัมพันธ์ หรือคิดรูปแบบจัดรายการส่งเสริมเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวเป็นกรณีพิเศษ
      3. กิจกรรมต่าง ๆ ของนักท่องเที่ยว ควรนำมาศึกษา ทั้งนี้เพื่อวางแผนสร้างและพัฒนากิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว และให้เกิดความสอดคล้องกับความต้องการของนักท่องเที่ยว


ลักษณะของทรัพยากรการท่องเที่ยว
      ทรัพยากรการท่องเที่ยว หมายถึง สถานที่ท่องเที่ยว กิจกรรมและวัฒนธรรมประเพณี ที่สะท้อนให้เห็นถึงอารยธรรมท้องถิ่นที่มีลักษณะเด่น และสามารถดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยวได้ ทรัพยากรท่องเที่ยวแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะทั่วไป คือ


      1. ทรัพยากรการท่องเที่ยวที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ได้แก่ สภาพภูมิอากาศ อากาศและทรัพยากรธรรมชาติ เช่น น้ำตก ภูเขา ทะเล ป่าไม้ ทรัพยากรการท่องเที่ยวที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติจะมีลักษณะเฉพาะ เป็นสิ่งที่มนุษย์ไม่ต้องสูญเสียต้นทุนการผลิตแต่มีต้นทุนในการดูแลรักษาคุณภาพของทรัพยากรการท่องเที่ยวที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ จักต้องได้รับการดูแลรักษาในรูปแบบของการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน คือ การวางแผนการท่องเที่ยวให้มีการวางแผนมาตรฐานที่ดีในการดูรักษาทรัพยากรจึงจำเป็น เนื่องจากกิจกรรมการท่องเที่ยวสามารถส่งผลกระทบทางลบต่อทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นสิ่งเปราะบางได้


          สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ เป็นเส้นทางรถไฟที่สร้างขึ้นสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยกองทัพญี่ปุ่นเกณฑ์เชลยหลายชาติจำนวนมากประมาณ 61,700 คน รวมถึงกรรมกรชาวไทย ญวน ชวา จีนอมลายู อินเดียอีกจำนวนหนึ่งปัจจุบันเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สร้างรายได้ให้แก่จังหวัดกาญจนบุรีอีกแห่งหนึ่ง



      2. ทรัพยากรการท่องเที่ยวที่มนุษย์สร้างขึ้น ได้แก่ สิ่งที่กำหนดไว้ว่า สิ่งที่จะปลูกสร้างเกี่ยวกับอะไร โดยทั่วไปจะเป็นทรัพยากรการท่องเที่ยวด้านประวัติศาสตร์ ด้านวัฒนธรรมและสังคม และทรัพยากรการท่องเที่ยวด้านบันเทิงและเพลิดเพลิน
          2.1 ทรัพยากรการท่องเที่ยวด้านประวัติศาสตร์ หมายถึง ด้านที่เกี่ยวเนื่องกับวัฒนธรรม วิถีชีวิต หรือเหตุการณ์ที่สืบทอดต่อกันมา มักเป็นการนำเสนอประวัติศาสตร์ในรูปของโบราณสถาน โบราณวัตถุ หรือสถานที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ เช่น พระราชวังบางประอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นต้น
               - ผู้คนที่อาศัยในชนบท เช่น บ้านวิลเลี่ยม เซคสเปียร์ในอังกฤษ อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา เป็นต้น
               - ศาสนา เช่น โบโรบูโดร์ในอินโดนีเชีย พุทธคยาในอินเดีย และนครวัด - นครธมในกัมพูชา เป็นต้น
               - สงคราม เช่น กำแพงเบอร์ลินที่กั้นระหว่างเบอร์ลินตะวันออกและเบอร์ลินตะวันตกในเยอรมนี และสะพานข้ามแม่น้ำแควจังหวัดกาญจนบุรี เป็นต้น
          2.2 ทรัพยากรการท่องเที่ยวด้านวัฒนธรรมและสังคมในแต่ละประเทศ ต่างก็มีวัฒนธรรมและวิถีชีวิตทางสังคมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ทั้งที่เป็นรูปธรรมที่เป็นการแสดงออกทางด้านลักษณะความเป็นอยู่ ภาษา เทศกาลประเพณี พีธีกรรมทางศาสนา ศิลปหัตถกรรม การแต่งกาย การละเล่น การบันเทิง ลักษณะรูปทรงบ้านเรือน ฯลฯ และส่วนที่เป็นนามธรรมที่แสดงออกทางความคิด ความเชื่อ ทัศนคติ ภูมิปัญญาชาวบ้านสิ่งเหล่านี้คือทรัพยากรการท่องเที่ยวเนื่องจากสามารถสนองความอยากรู้อยากเห็น สิ่งที่แปลกแตกต่างของนักท่องเที่ยวได้


          2.3 ทรัพยากรการท่องเที่ยวด้านบันเทิง และด้านความเพลิดเพลิน หมายถึง สถานที่หรือกิจกรรมที่สร้างความบันเทิงและความเพลิดเพลินทุกประเภท เช่น สวนสาธารณะ สวนสนุก แหล่งบันเทิงยามค่ำคืน โรงละคร โรงภาพยนต์ เป็นต้น สถานที่เหล่านี้ส่วนใหญ่ต้องใช้เงินทุนในการสร้างสูง และมักเป็นการลงทุนของภาคเอกชน มีเพียงส่วนน้อยที่เป็นการลงทุน


 
 
 
 
 

free counter
 
   เว็บไซต์นี้ เป็นผลงานของรายวิชา โครงการ (2204-8501) สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุบลราชธานี ครูที่ปรึกษา ครูสุดฤดี ประทุมชาติ ปีการศึกษา 2563